วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การจัดเก็บภาษีสมัยสุโขทัย


ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมากเพราะพระองค์ทรงเป็นทั้งรบและนักปราชญ์ ทรงปกครองประเทศได้เป็นปึกแผ่นและทรงขยายการค้าไปทั่วราชอาณาจักรและไปถึงต่างประเทศ ความเจริญรุ่งเรื่องนี้ทำให้มีการประกอบการค้าทั้งในประเทศและนอกราชอาณาจักร ในยุคสมัยอาณาจักรสุโขทัยดังที่กล่าวข้างต้นปรากฏในศิลาจารึกซึ่งแสดงหล้กฐานว่า มีการจัดเก็บภาษีอากรตั้งแต่ก่อนยุคพ่อขุนรามคำแหง ดังข้อความตอนหนึ่งว่า



เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี
ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง
เพื่อจองวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย
ใครจักค้าช้างค้า ใครจักค้าม้าค้า
จากข้อความที่กล่าวมาจากเดิมมีการจัดเก็บจังกอบ จำกอบ จกอบ เป็นค่าเดี่ยวกัน เป็นภาษีชนิดหนึ่งที่จัดเก็บจากผู้นำสัตว์และสิ่งของไปเพื่อขายในที่ต่าง ๆ หรือหมายถึงภาษีที่จัดเก็บจากสัตว์และสิ่งของที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยวิธีเก็บจังกอบในสมัยนั้นในอัตรา 10 ชัก 1 และการจัดเก็บนั้นมิได้เป็นตัวเงินเสมอไป คื่อเก็บสิ่งของแทนตัวเงินก็ได้แล้วแต่เก็บอย่างใดได้สะดวก เพราะในสมัยนั้นวัตถุที่ใช้แทนเงินตรายังไม่สมบูรณ์ ในยุคสมัยนั้นการจัดเก็บจังกอบ รัฐบาลจะตั้งสถานที่จัดเก็บในสถานที่ที่สะดวก เช่น ถ้าเป็นทางบกก็จะไปตั้งที่ปากทางที่จะเข้าเมือง ถ้าเป็นทางน้ำก็จะตั้งใกล้ท่าแม่น้ำหรือเป็นทางร่วมสายน้ำ โดยสถานที่เก็บจังกอบ เรียกว่า ขนอน ทั้งนี้ขนอนจะคอยเป็นที่จัดเก็บสินค้าทั่วไป ไม่เพียงเฉพาการน้ำและขนออกราชอาณาจักรเท่านั้น เพราะมีทั้งขนอนบก ขนอนน้ำ ขนอนชั้นนอก ขนอนชั้นใน และขนอนตลาด เป็นต้น

การจัดเก็บจังกอบเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยยุคสุโขทัย และได้ยกเว้นไม่เก็บจังกอบจากราษฎรเลยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในภายหลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงไม่มีหลักฐานว่า ในยุคสุโขทัยได้มีการจัดเก็บจังกอบจากราษฎรอีกหรื่อไม่


ที่มา กรมสรรพากร

แล้ววันหลังจะเอาบทความภาษีของสมัยอื่น ๆ มาให้อ่านนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น