* คุณรู้หรือไม่ว่ากิจการประเภทใดเหมาะสมกับกิจการของคุณ
การเลือกประเภทกิจการให้เหมาะสมกับกิจการของคุณถือเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญ คุณควรทำความเข้าใจกับประเภทกิจการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกิจการของคุณ ได้แก่
* บุคคลธรรมดา เป็นเจ้าของกิจการคนเดียว หรือมีตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ)
*นิติบุคคล แบ่งเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และ บริษัทมหาชนจำกัด
คุณจำเป็นต้องเข้าใจถึงข้อดี ข้อเสียของกิจกการประเภทต่าง ๆ เพราะประเภทกิจการมีผลกระทบต่องโครงสร้างและการดำเนินกิจการ การเสียภาษี ความรับผิดชอบในหนี้สิน ตลอดจนขั้นตอนการจดทะเบียนและหลักเกณฑ์ที่ต่างกัน
np acc
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554
คิดจะเริ่มธุรกิจ คุณเตรียมความพร้อมหรือยัง
ในการประกอบธุรกิจเป็นครั้งแรกคุณจะยังไม่รู้รายละเอียดมากนัก หรือรู้ก็ยังมีอีกหลายสิ่งอย่างที่ต้องการข้อมูลเพื่อมาประกอบในการตัดสินใจ เราสามารถแนะนำคุณได้ดังนี้
คำแนะนำและการให้ความช่วยเหลือด้านการประกอบธุรกิจ
*คุณรู้จักหน่วยงานของรัฐที่ให้คำแนะนำหรือให้ความช่วยเหลือด้านการประกอบธุรกิจหรือไม่
โลกปัจจุบันเป็นโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่มี่เทคโนโลยีทันสมัย อยู่ขั้วโลกไหนก็สามารถสื่อสารทั่วถึงกันหมด โดยเฉพาะการทำกิจการค้าและบริการที่มีการแข่งขันสูง เมื่อคุณเริ่มต้นทำธุกรกิจและไม่ว่าจะเป็นขนาดใด คุณจำเป็นต้องมีข้อมูลด้านต่าง ๆเพื่อประกอบการตัดสินใจคุณควรทราบหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาเมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจต่าง ๆ ขอคำแนะนำเบื้องต้นได้ที่ :
*ศูนย์ปรึกษาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สายด่วน 1570 หรือ www.dbd.go.th
*ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก Call Center 1169 or www.depthai.go.th
*สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) Call Center 0 2686 9111 www.sme.go.th
ครั้งหน้าจะมาให้รายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม
ที่มา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
คำแนะนำและการให้ความช่วยเหลือด้านการประกอบธุรกิจ
*คุณรู้จักหน่วยงานของรัฐที่ให้คำแนะนำหรือให้ความช่วยเหลือด้านการประกอบธุรกิจหรือไม่
โลกปัจจุบันเป็นโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่มี่เทคโนโลยีทันสมัย อยู่ขั้วโลกไหนก็สามารถสื่อสารทั่วถึงกันหมด โดยเฉพาะการทำกิจการค้าและบริการที่มีการแข่งขันสูง เมื่อคุณเริ่มต้นทำธุกรกิจและไม่ว่าจะเป็นขนาดใด คุณจำเป็นต้องมีข้อมูลด้านต่าง ๆเพื่อประกอบการตัดสินใจคุณควรทราบหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาเมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจต่าง ๆ ขอคำแนะนำเบื้องต้นได้ที่ :
*ศูนย์ปรึกษาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สายด่วน 1570 หรือ www.dbd.go.th
*ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก Call Center 1169 or www.depthai.go.th
*สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) Call Center 0 2686 9111 www.sme.go.th
ครั้งหน้าจะมาให้รายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม
ที่มา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม-ภาษีอากร เช่น ภพ.30 ภงด.1 ภงด.3 ภงด.53
อัตราค่าปรับในการยื่นแบบภาษี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 30)
1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
* ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 300 บาท
* ยื่นแบบเกิน 7 วัน 500 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5 % ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
3. เบี้ยปรับ มี 2 กรณี คือ
กรณีไม่เคยยื่นแบบหรือยื่นเกินกำหนด
* ยื่นแบบไม่เกิน 15 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า*2%
* ยื่นเบบไม่เกิน 30 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า*5%
*ยื่นแบบไม่เกิน 60 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า*10%
* ยื่นแบบเกิน 60 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า* 20%
กรณียื่นเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา
*ยื่นแบบไม่เกิน 15 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า * 2%
*ยื่นแบบไม่เกิน 30 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า * 5%
*ยื่นแบบไม่เกิน 60 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า * 10%
*ยื่นแบบเกิน 60 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า * 20%
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1. 3, 53)
1.ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
* ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 100 บาท
* ยื่นแบบเกิน 7 วัน 200 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50)
1.ค่าปรับอาญา
* ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 1,000 บาท
* ยื่นแบบเกิน 7 วัน 2,000 บาท
2.เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
หมายเหตุ ในการยื่น ภงด.50 ถ้ายื่นล่าช้าจะมี่ค่าปรับ 2 ส่วน คือ ค่าปรับและเงินเพิ่มของกรมสรรพากร และอีกส่วนคือค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าที่กระทรวงพาณิชย์ อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือนของกระทรวงพาณิชย์ จะมีอยู่ 2 ส่วน คือ ในส่วนของนิติบุคคลหรือบริษัทค่าปรับ 600 บาท ส่วนที่ 2 คือในส่วนของกรรมการค่าปรับ 600 บาท การชำระค่าปรับในกรณียื่นงบการเงินล่าช้าให้กระทรวงพาณิชย์ให้ดูในเรื่องของระยะเวลาที่ยื่นล่าช้าด้วย(ดูตารางแนบคะ)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.90, ภงด.91)
1.ค่าปรับอาญา
*ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 100 บาท
*ยื่นแบบเกิน 7 วัน 200 บาท
2.เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
ที่มา: กรมสรรพากร และ กระทรวงพาณิชย์
http://www.rd.go.th/
http://www.dbd.go.th/
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 30)
1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
* ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 300 บาท
* ยื่นแบบเกิน 7 วัน 500 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5 % ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
3. เบี้ยปรับ มี 2 กรณี คือ
กรณีไม่เคยยื่นแบบหรือยื่นเกินกำหนด
* ยื่นแบบไม่เกิน 15 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า*2%
* ยื่นเบบไม่เกิน 30 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า*5%
*ยื่นแบบไม่เกิน 60 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า*10%
* ยื่นแบบเกิน 60 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า* 20%
กรณียื่นเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา
*ยื่นแบบไม่เกิน 15 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า * 2%
*ยื่นแบบไม่เกิน 30 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า * 5%
*ยื่นแบบไม่เกิน 60 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า * 10%
*ยื่นแบบเกิน 60 วัน ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า * 20%
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1. 3, 53)
1.ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
* ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 100 บาท
* ยื่นแบบเกิน 7 วัน 200 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50)
1.ค่าปรับอาญา
* ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 1,000 บาท
* ยื่นแบบเกิน 7 วัน 2,000 บาท
2.เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
หมายเหตุ ในการยื่น ภงด.50 ถ้ายื่นล่าช้าจะมี่ค่าปรับ 2 ส่วน คือ ค่าปรับและเงินเพิ่มของกรมสรรพากร และอีกส่วนคือค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าที่กระทรวงพาณิชย์ อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือนของกระทรวงพาณิชย์ จะมีอยู่ 2 ส่วน คือ ในส่วนของนิติบุคคลหรือบริษัทค่าปรับ 600 บาท ส่วนที่ 2 คือในส่วนของกรรมการค่าปรับ 600 บาท การชำระค่าปรับในกรณียื่นงบการเงินล่าช้าให้กระทรวงพาณิชย์ให้ดูในเรื่องของระยะเวลาที่ยื่นล่าช้าด้วย(ดูตารางแนบคะ)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.90, ภงด.91)
1.ค่าปรับอาญา
*ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 100 บาท
*ยื่นแบบเกิน 7 วัน 200 บาท
2.เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
ที่มา: กรมสรรพากร และ กระทรวงพาณิชย์
http://www.rd.go.th/
http://www.dbd.go.th/
วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553
การไม่ยื่นภาษีครึ่งปี มีโทษใด?
ช่วงนี้เป็นกำหนดเวลาการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี ทั้งในส่วนของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องตรวจสอบดูว่าตนเองมีหน้าที่ทางภาษีอย่างไรบ้าง หากไม่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ครึ่งปีกฎหมายระบุโทษไว้ทั้งทางแพ่ง และทางอาญา จะลงโทษโดยปรับในวงเงินที่กฎหมายกำหนด แต่โทษทางแพ่งจะกำหนดให้เสียเงินเพิ่มจากจำนวนภาษีที่ต้องชำระ หากไม่มีภาษีที่ต้องชำระก็คงถูกลงโทษทางอาญาโดยเสียเพียงค่าปรับจากการไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลาเท่านั้น
การไม่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ครึ่งปีของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ต่างมีบทลงโทษแตกต่างกัน สรุปได้ดังนี้
* ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินครึ่งปีตามมาตรา 40(5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น เงินได้พึงประเมินจาการให้เช่าทรัพย์สินต่าง ๆ การประกอบโรคศิลป์ วิชาชีพกฎหมาย วิชาชีพวิศวกรรม วิชาชีพบัญชี วิชาชีพสถาปัตยกรรม การรับเหมาพร้อมวัสดุอุปกรณ์ การรับจ้างทำของ การพาณิชยกรรม การขนส่ง การอุตสาหกรรม เป็นต้น
* ผูมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)-(8) หากเป็นโสดหรือยังไม่มีคู่สมรสและมีเงินได้พึงประเมิน เกินกว่าสามหมื่นบาท หรือผู้มีเงินได้พึงประเมินที่มีคู่สมรสและมีเงินได้พึงประเมินเกินกว่าหกหมื่นบาทขึ้นไป จะต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาครึ่งปีด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 ไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตาม การถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ หรือเมื่อคำนวณภาษีแล้วไม่มีภาษีต้องชำระ จะใช้เป็นข้ออ้างเพื่อที่จะไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ไม่ได้
กำหนดเวลาของการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีในปี 53 นี้ เริ่มตั้งแต่ กค-กย 2553 ในปีนี้วันสุดท้ายตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน 2553
หากไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ภายในกำหนดเวลา โทษอาญาปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท แต่หักไม่ยื่นแบบภายใน 7 วัน นับแต่พ้นกำหนด กรมสรรพากรจะปรับเพียง 100 บาท แต่หากยื่นแบบเกินกว่า 7 วัน จะคิดค่าปรับ 200 บาท ไม่ว่าท่านจะมีภาษีต้องชำระหรือไม่ก็ตาม ในกรณีที่มีภาษีที่ต้องชำระ ท่านจะได้รับทางแพ่งอีกด้วย โดยเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระ ยิ่งยื่นแบบชำระภาษีล่าช้าออกไปเท่าใด เงินเพืมก็เพิ่มขึ้นตามจำนวนเดือนที่ชำระภาษีล่าช้าเท่านั้น อย่างไรก็ตามเงินเพิ่มจะเสียไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี(ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรก) ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด กิจการร่วมค้า หรือนิติบุคคลอื่นใดที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ ที่มีรอบระยะเวลาบัญชีตามปีปฏิทิน ซึ่งโดยทั่วไปมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้นตั่งแต่ 1 มค และวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตรงกับวันที่ 31 ธค.จะต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีแรกภายใน 2 เดือน นับแต่ครบรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรก หรือพูดง่าย ๆ ว่า เมื่อสิ้นเดือน มิถุนายน ให้ยื่นเสียภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.51 กำหนดเวลายื่นแบบเริ่มตั้งแต่เดือน กค.-สค. ไม่ว่าบริษัท ฯลฯ จะมีรายได้หรือไม่ก็ตาม
วันสุดท้ายของการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ในปีนี้จะตรงกับวันอังคารที่ 31 สิงหาคม 2553 แต่หากบริษัท ฯลฯ ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในกำหนดเวลา โทษอาญาปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท แต่ถ้าหากได้ยื่นแบบภายใน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนด กรมสรรพากรจะปรับเพียง 1,000 บาท แต่ถ้าหากยื่นแบบเกินกว่า 7 วัน นับแต่พ้นกำหนด จะคิดค่าปรับ 2,000 บาท ไม่ว่าท่านจะมีภาษีต้องชำระหรือไม่ก็ตาม ในกรณีที่บริษัท ฯลฯ มีภาษีที่ต้องชำระ โทษทางแพ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของภาษีที่ต้องชำระ อย่างไรก็ตาม เงินเพิ่มร้อยละ 20 อาจเสียเพียงร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.51 หากเข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามคำสั่งสรรพากรที่ ท.ป.81/2542
ที่มา Post Today
วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ แบบภ.พ.01 ซึ่งในเขตกรุงเทพฯ สามารถขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพิ้นที่สาขา(เขต/อำเภอ) หรือสำนักงานสรรพากรพิ้นที่ สำหรับในจังหวัดอื่น ขอรับได้ที่พิ้นที่สาขา(อำเภอ) ทุกแห่ง
2.เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.1 คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01) จำนวน 3 ฉบับ
2.2 สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว
2.3 บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว
2.4 สัญญาเช่าอาคารอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเช่า) หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ และหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ เช่น เป็นเจ้าบ้าน, สัญญาซื้อขาย, คำขอหมายเลขบ้าน, ใบโอนกรรมสิทธิ, สัญญาเช่าช่วง, พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ และภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
2.5 หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคล)
2.6 หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน, บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์, หนังสือบริคนห์สนธิและข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์ พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว (กรณีเป็นนิติบุคคล)
2.7 บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
2.8 แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการ โดยสังเขป และภาพถ่ายสถานประกอบการจำนวน 2 ชุด
2.9 กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจแลผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
ทีมา กรมสรรพากร
วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ขั้นตอนและวิธีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
ขั้นตอนการดำเนินการจัดตั้งบริษัท
1. ยื่นแบบจองชื่อนิติบุคคลเพื่อตรวจสอบชื่อที่จะใช้ว่าซ้ำหรือเหมือนกับชื่อนิติบุคคลอื่นหรือไม่ หรือจองชื่อทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ http://thairesgistration.com/ หรือที่กรมธุรกิจการค้า จะใช้เวลาประมาณ 1 วันทำการ จะทราบผลอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ใช้ชื่อ เมื่อได้ชื่อนิติบุคคลแล้วจะต้องทำการจดทะเบียนหนังสือบริคนห์สนธิภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ชื่อนิติบุคคล
2. เมื่อได้ชื่อนิติบุคคลแล้ว ให้ผู้ก่อการเริ่มตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปเข้าชื่อกันทำการจดทะเบียนหนังสือบริคนห์สนธิ
2.1 ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีการจองซื้อหุ้นทั้งหมด
2.2 ประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องบอกกล่าวแจ้งการประชุมอย่างน้อย 7 วันก่อนการประชุม
2.3 รายงานการประชุมการจัดตั้งบริษัท จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตังบริษัทภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันประชุมจัดตั้งบริษัท มิฉะนั้นต้องบอกกล่าวนัดประชุมจัดตั้งบริษัทใหม่
2.4 ผู้เริ่มก่อการมอบต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการรับผิดชอบไป เพื่อนำไปดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัท
3. กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองซื้อหุ้นชำระค่าหุ้น แต่ต้องไม่น้อยกว่า 25% ของมูลค่าหุ้น และออกหนังสือยืนยันการชำระค่าหุ้น
4. จัดทำคำขอจดทะเบียนบริษัทและยื่นเอกสารประการจดทะเบียนดังนี้
4.1 แบบจองชื่อนิติบุคคล
4.2 แบบ บอจ.1
4.3 แบบ บอจ.2 ใช้ทั้ง 2 หน้า ผนึกอากร 200 บาท
4.4 แบบ บอจ.5
4.5 แบบ ว.
4.6 หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(เฉพาะการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายควบคุม)
4.7 หนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
4.8 รายงานการประชุมตั้งบริษัท
4.9 ข้อบังคับ (ถ้ามี) ติดอากรแสตมป์ 200 บาท
4.10 หนังสือยืนยันการชำระค่าหุ้น
4.11 แบบ สสช.1 จำนวน 2 ฉบับ
4.12 สำเนาบัตรประชาชนผู้เริ่มก่อการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
4.13 สำเนาบัตรทนายความ/หลักฐานการเป็นสมาชิกเนิตบัณฑิตสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ
4.14 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) ติดอากร 10 บาท
4.15 สำเนาหนังสือบริคนห์สนธิ
ค่าธรรมเนียม
1.จดทะเบียนหนังสือบริคนห์สนธิทุกจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 50 บาท เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท ทั้งนี้รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า 500 บาท และไม่ให้เกิน 25,000 บาท
2.จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทตามทุนจดทะเบียน 100,000 ละ 500 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท เศษของ 100,000 คิดเป็น 100,000 บาท และไม่เกิน 250,000 บาท
3.ค่าหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
4.ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน 100 บาท
ที่มา กรมธุรกิจการค้า
1. ยื่นแบบจองชื่อนิติบุคคลเพื่อตรวจสอบชื่อที่จะใช้ว่าซ้ำหรือเหมือนกับชื่อนิติบุคคลอื่นหรือไม่ หรือจองชื่อทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ http://thairesgistration.com/ หรือที่กรมธุรกิจการค้า จะใช้เวลาประมาณ 1 วันทำการ จะทราบผลอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ใช้ชื่อ เมื่อได้ชื่อนิติบุคคลแล้วจะต้องทำการจดทะเบียนหนังสือบริคนห์สนธิภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ชื่อนิติบุคคล
2. เมื่อได้ชื่อนิติบุคคลแล้ว ให้ผู้ก่อการเริ่มตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปเข้าชื่อกันทำการจดทะเบียนหนังสือบริคนห์สนธิ
2.1 ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีการจองซื้อหุ้นทั้งหมด
2.2 ประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องบอกกล่าวแจ้งการประชุมอย่างน้อย 7 วันก่อนการประชุม
2.3 รายงานการประชุมการจัดตั้งบริษัท จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตังบริษัทภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันประชุมจัดตั้งบริษัท มิฉะนั้นต้องบอกกล่าวนัดประชุมจัดตั้งบริษัทใหม่
2.4 ผู้เริ่มก่อการมอบต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการรับผิดชอบไป เพื่อนำไปดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัท
3. กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองซื้อหุ้นชำระค่าหุ้น แต่ต้องไม่น้อยกว่า 25% ของมูลค่าหุ้น และออกหนังสือยืนยันการชำระค่าหุ้น
4. จัดทำคำขอจดทะเบียนบริษัทและยื่นเอกสารประการจดทะเบียนดังนี้
4.1 แบบจองชื่อนิติบุคคล
4.2 แบบ บอจ.1
4.3 แบบ บอจ.2 ใช้ทั้ง 2 หน้า ผนึกอากร 200 บาท
4.4 แบบ บอจ.5
4.5 แบบ ว.
4.6 หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(เฉพาะการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายควบคุม)
4.7 หนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
4.8 รายงานการประชุมตั้งบริษัท
4.9 ข้อบังคับ (ถ้ามี) ติดอากรแสตมป์ 200 บาท
4.10 หนังสือยืนยันการชำระค่าหุ้น
4.11 แบบ สสช.1 จำนวน 2 ฉบับ
4.12 สำเนาบัตรประชาชนผู้เริ่มก่อการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
4.13 สำเนาบัตรทนายความ/หลักฐานการเป็นสมาชิกเนิตบัณฑิตสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ
4.14 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) ติดอากร 10 บาท
4.15 สำเนาหนังสือบริคนห์สนธิ
ค่าธรรมเนียม
1.จดทะเบียนหนังสือบริคนห์สนธิทุกจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 50 บาท เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท ทั้งนี้รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า 500 บาท และไม่ให้เกิน 25,000 บาท
2.จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทตามทุนจดทะเบียน 100,000 ละ 500 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท เศษของ 100,000 คิดเป็น 100,000 บาท และไม่เกิน 250,000 บาท
3.ค่าหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
4.ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน 100 บาท
ที่มา กรมธุรกิจการค้า
วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การจัดเก็บภาษีสมัยสุโขทัย
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมากเพราะพระองค์ทรงเป็นทั้งรบและนักปราชญ์ ทรงปกครองประเทศได้เป็นปึกแผ่นและทรงขยายการค้าไปทั่วราชอาณาจักรและไปถึงต่างประเทศ ความเจริญรุ่งเรื่องนี้ทำให้มีการประกอบการค้าทั้งในประเทศและนอกราชอาณาจักร ในยุคสมัยอาณาจักรสุโขทัยดังที่กล่าวข้างต้นปรากฏในศิลาจารึกซึ่งแสดงหล้กฐานว่า มีการจัดเก็บภาษีอากรตั้งแต่ก่อนยุคพ่อขุนรามคำแหง ดังข้อความตอนหนึ่งว่า
เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี
ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง
เพื่อจองวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย
ใครจักค้าช้างค้า ใครจักค้าม้าค้า
จากข้อความที่กล่าวมาจากเดิมมีการจัดเก็บจังกอบ จำกอบ จกอบ เป็นค่าเดี่ยวกัน เป็นภาษีชนิดหนึ่งที่จัดเก็บจากผู้นำสัตว์และสิ่งของไปเพื่อขายในที่ต่าง ๆ หรือหมายถึงภาษีที่จัดเก็บจากสัตว์และสิ่งของที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยวิธีเก็บจังกอบในสมัยนั้นในอัตรา 10 ชัก 1 และการจัดเก็บนั้นมิได้เป็นตัวเงินเสมอไป คื่อเก็บสิ่งของแทนตัวเงินก็ได้แล้วแต่เก็บอย่างใดได้สะดวก เพราะในสมัยนั้นวัตถุที่ใช้แทนเงินตรายังไม่สมบูรณ์ ในยุคสมัยนั้นการจัดเก็บจังกอบ รัฐบาลจะตั้งสถานที่จัดเก็บในสถานที่ที่สะดวก เช่น ถ้าเป็นทางบกก็จะไปตั้งที่ปากทางที่จะเข้าเมือง ถ้าเป็นทางน้ำก็จะตั้งใกล้ท่าแม่น้ำหรือเป็นทางร่วมสายน้ำ โดยสถานที่เก็บจังกอบ เรียกว่า ขนอน ทั้งนี้ขนอนจะคอยเป็นที่จัดเก็บสินค้าทั่วไป ไม่เพียงเฉพาการน้ำและขนออกราชอาณาจักรเท่านั้น เพราะมีทั้งขนอนบก ขนอนน้ำ ขนอนชั้นนอก ขนอนชั้นใน และขนอนตลาด เป็นต้น
การจัดเก็บจังกอบเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยยุคสุโขทัย และได้ยกเว้นไม่เก็บจังกอบจากราษฎรเลยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในภายหลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงไม่มีหลักฐานว่า ในยุคสุโขทัยได้มีการจัดเก็บจังกอบจากราษฎรอีกหรื่อไม่
ที่มา กรมสรรพากร
แล้ววันหลังจะเอาบทความภาษีของสมัยอื่น ๆ มาให้อ่านนะคะ
การจัดเก็บจังกอบเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยยุคสุโขทัย และได้ยกเว้นไม่เก็บจังกอบจากราษฎรเลยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในภายหลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงไม่มีหลักฐานว่า ในยุคสุโขทัยได้มีการจัดเก็บจังกอบจากราษฎรอีกหรื่อไม่
ที่มา กรมสรรพากร
แล้ววันหลังจะเอาบทความภาษีของสมัยอื่น ๆ มาให้อ่านนะคะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)