วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม


1.แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ แบบภ.พ.01 ซึ่งในเขตกรุงเทพฯ สามารถขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพิ้นที่สาขา(เขต/อำเภอ) หรือสำนักงานสรรพากรพิ้นที่ สำหรับในจังหวัดอื่น ขอรับได้ที่พิ้นที่สาขา(อำเภอ) ทุกแห่ง


2.เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

2.1 คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01) จำนวน 3 ฉบับ

2.2 สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว

2.3 บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว

2.4 สัญญาเช่าอาคารอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเช่า) หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ และหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ เช่น เป็นเจ้าบ้าน, สัญญาซื้อขาย, คำขอหมายเลขบ้าน, ใบโอนกรรมสิทธิ, สัญญาเช่าช่วง, พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ และภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

2.5 หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคล)

2.6 หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน, บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์, หนังสือบริคนห์สนธิและข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์ พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว (กรณีเป็นนิติบุคคล)

2.7 บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

2.8 แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการ โดยสังเขป และภาพถ่ายสถานประกอบการจำนวน 2 ชุด

2.9 กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจแลผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป


ทีมา กรมสรรพากร


วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนและวิธีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

ขั้นตอนการดำเนินการจัดตั้งบริษัท
1. ยื่นแบบจองชื่อนิติบุคคลเพื่อตรวจสอบชื่อที่จะใช้ว่าซ้ำหรือเหมือนกับชื่อนิติบุคคลอื่นหรือไม่ หรือจองชื่อทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ http://thairesgistration.com/ หรือที่กรมธุรกิจการค้า จะใช้เวลาประมาณ 1 วันทำการ จะทราบผลอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ใช้ชื่อ เมื่อได้ชื่อนิติบุคคลแล้วจะต้องทำการจดทะเบียนหนังสือบริคนห์สนธิภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ชื่อนิติบุคคล

2. เมื่อได้ชื่อนิติบุคคลแล้ว ให้ผู้ก่อการเริ่มตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปเข้าชื่อกันทำการจดทะเบียนหนังสือบริคนห์สนธิ
2.1 ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีการจองซื้อหุ้นทั้งหมด
2.2 ประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องบอกกล่าวแจ้งการประชุมอย่างน้อย 7 วันก่อนการประชุม
2.3 รายงานการประชุมการจัดตั้งบริษัท จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตังบริษัทภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันประชุมจัดตั้งบริษัท มิฉะนั้นต้องบอกกล่าวนัดประชุมจัดตั้งบริษัทใหม่
2.4 ผู้เริ่มก่อการมอบต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการรับผิดชอบไป เพื่อนำไปดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัท

3. กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองซื้อหุ้นชำระค่าหุ้น แต่ต้องไม่น้อยกว่า 25% ของมูลค่าหุ้น และออกหนังสือยืนยันการชำระค่าหุ้น

4. จัดทำคำขอจดทะเบียนบริษัทและยื่นเอกสารประการจดทะเบียนดังนี้
4.1 แบบจองชื่อนิติบุคคล
4.2 แบบ บอจ.1
4.3 แบบ บอจ.2 ใช้ทั้ง 2 หน้า ผนึกอากร 200 บาท
4.4 แบบ บอจ.5
4.5 แบบ ว.
4.6 หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(เฉพาะการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายควบคุม)
4.7 หนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
4.8 รายงานการประชุมตั้งบริษัท
4.9 ข้อบังคับ (ถ้ามี) ติดอากรแสตมป์ 200 บาท
4.10 หนังสือยืนยันการชำระค่าหุ้น
4.11 แบบ สสช.1 จำนวน 2 ฉบับ
4.12 สำเนาบัตรประชาชนผู้เริ่มก่อการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
4.13 สำเนาบัตรทนายความ/หลักฐานการเป็นสมาชิกเนิตบัณฑิตสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ
4.14 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) ติดอากร 10 บาท
4.15 สำเนาหนังสือบริคนห์สนธิ

ค่าธรรมเนียม
1.จดทะเบียนหนังสือบริคนห์สนธิทุกจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 50 บาท เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท ทั้งนี้รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า 500 บาท และไม่ให้เกิน 25,000 บาท

2.จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทตามทุนจดทะเบียน 100,000 ละ 500 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท เศษของ 100,000 คิดเป็น 100,000 บาท และไม่เกิน 250,000 บาท

3.ค่าหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท

4.ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน 100 บาท

ที่มา กรมธุรกิจการค้า


วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การจัดเก็บภาษีสมัยสุโขทัย


ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมากเพราะพระองค์ทรงเป็นทั้งรบและนักปราชญ์ ทรงปกครองประเทศได้เป็นปึกแผ่นและทรงขยายการค้าไปทั่วราชอาณาจักรและไปถึงต่างประเทศ ความเจริญรุ่งเรื่องนี้ทำให้มีการประกอบการค้าทั้งในประเทศและนอกราชอาณาจักร ในยุคสมัยอาณาจักรสุโขทัยดังที่กล่าวข้างต้นปรากฏในศิลาจารึกซึ่งแสดงหล้กฐานว่า มีการจัดเก็บภาษีอากรตั้งแต่ก่อนยุคพ่อขุนรามคำแหง ดังข้อความตอนหนึ่งว่า



เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี
ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง
เพื่อจองวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย
ใครจักค้าช้างค้า ใครจักค้าม้าค้า
จากข้อความที่กล่าวมาจากเดิมมีการจัดเก็บจังกอบ จำกอบ จกอบ เป็นค่าเดี่ยวกัน เป็นภาษีชนิดหนึ่งที่จัดเก็บจากผู้นำสัตว์และสิ่งของไปเพื่อขายในที่ต่าง ๆ หรือหมายถึงภาษีที่จัดเก็บจากสัตว์และสิ่งของที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยวิธีเก็บจังกอบในสมัยนั้นในอัตรา 10 ชัก 1 และการจัดเก็บนั้นมิได้เป็นตัวเงินเสมอไป คื่อเก็บสิ่งของแทนตัวเงินก็ได้แล้วแต่เก็บอย่างใดได้สะดวก เพราะในสมัยนั้นวัตถุที่ใช้แทนเงินตรายังไม่สมบูรณ์ ในยุคสมัยนั้นการจัดเก็บจังกอบ รัฐบาลจะตั้งสถานที่จัดเก็บในสถานที่ที่สะดวก เช่น ถ้าเป็นทางบกก็จะไปตั้งที่ปากทางที่จะเข้าเมือง ถ้าเป็นทางน้ำก็จะตั้งใกล้ท่าแม่น้ำหรือเป็นทางร่วมสายน้ำ โดยสถานที่เก็บจังกอบ เรียกว่า ขนอน ทั้งนี้ขนอนจะคอยเป็นที่จัดเก็บสินค้าทั่วไป ไม่เพียงเฉพาการน้ำและขนออกราชอาณาจักรเท่านั้น เพราะมีทั้งขนอนบก ขนอนน้ำ ขนอนชั้นนอก ขนอนชั้นใน และขนอนตลาด เป็นต้น

การจัดเก็บจังกอบเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยยุคสุโขทัย และได้ยกเว้นไม่เก็บจังกอบจากราษฎรเลยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในภายหลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงไม่มีหลักฐานว่า ในยุคสุโขทัยได้มีการจัดเก็บจังกอบจากราษฎรอีกหรื่อไม่


ที่มา กรมสรรพากร

แล้ววันหลังจะเอาบทความภาษีของสมัยอื่น ๆ มาให้อ่านนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รับทำบัญชี

บัญชี NP
รับทำบัญชี , จดทะเบียน บริษัท และวางแผนภาษี
* บริการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายภงด .3 , 53, 54
* บริการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มภพ .30 , 36
* ปิดงบรายเดือน , รายปีและจัดทำภาเงินได้นิติบุคคลภงด .50 , 51
* บริการจัดทำบัญชีเงินเดือนพร้อมยื่นภงด .1 , ภงด .1 ก
* บริการยื่นแบบประกันสังคม
* ให้คำแนะนำและปรึกษาการวางระบบบัญชีพร้อมทั้งจัดทำสมุดรายวันขั้นต้นตามกฎหมาย
* บริการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท และจดทะเบียนพาณิชย์
* บริการแก้ไขและเปลี่ยนแปลง :
-- เพิ่มทุน , ลดทุน
-- กรรมการเปลี่ยนแปลง
-- วัตถุประสงค์เปลี่ยนแปลง
-- เปลี่ยนแปลง ๆ แก้ไขอื่น
สามารถที่ติดต่อได้ http://shop.be2hand.com/siriwan_pa
Email : npacc3392@gmail.com
Mobile : 081-4513680